คุ้มขันโตก
ขันโตก เชียงใหม่
ขันโตก หรือ โตก คือภาชนะรูปกลมสำหรับใส่อาหารของชาวล้านนา มีรูปทรงกลมมีความกว้างตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป มีเชิงสูงประมาณ 1 ฟุต การรับประทานแบบขันโตกนี้เป็นวัฒนธรรมในการทานอาหารร่วมกันตั้งแต่อดีตของชาวล้านนาและยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ที่เชียงใหม่สถานที่ทานอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง คือที่คุ้มขันโตกเมื่อเราไปถึงซักประมาณ 6 โมงครึ่ง ฟ้าเริ่มจะเปลี่ยนสีเราเดินจาก ลานจอดรถเข้าไปที่ศูนญ์แสดงแค่ครั้งแรกก็เกิดความประทับใจแล้ว เพราะมีกลุ่มหนุ่มสาวแต่งตัวสวยงาม ในชุดพื้นเมืองออกมา ต้อนรับแขกที่เข้ามา ได้ยินเสียงฒ้องเสียงกลองและเครื่องดนตรีไทยหลากชนิดเป็นแบ็คกราวน์ พนักงานต้อนรับจะพาเราไปนั่ง ตามที่นั่งที่ระบุหมายเลขไว้
เราโชคดีได้นั่งตรงแถวหน้าติดกับลานแสดง การแสดงเริ่นต้นด้วยขบวนการแห่บูรณคตะสโตกและฟ้อนเทียน ซึ่งเป็นการแสดง การต้อนรับแขกบ้านแขกเรือนด้วยมิตรไมตรี การแสดงถัดไปคือนกกิงกะลากับตัวโต เป็นศิลปะการร่ายรำของชาวไทยใหญ่ แสดงถึงเรื่องราวของสัตว์ในตำนาน ผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบนกมีปีกที่สวยงาม
- การแสดงกลองสะบัดชัย ด้วยลีลาที่โลดโผนเป็นการแสดงเพื่อเสริมกำลังใจให้กับไฟร่ฟลก่อนออกศึกในสมัยอดีต
- การแสดงฟ้อนที หรือการแสดงฟ้อนร่ม คำว่า ที ในภาษาไตแปลว่าร่ม การแสดงนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตพื้นบ้าน ผสมผสานกับลีลาการฟ้อนรำ
- การแสดงหนุมานจับนางสุวรรณมัจฉา เป็นการแสดงโขน นับเป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงที่เมื่อก่อนนิยมเล่นในวังเท่านั้น
- ระบำชาวเขา 4 เผ่า ดัดแปลงมาจากการละเล่นในวันปีใหม่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ เผ่าลีซอ เย้า อาข่า และแม้ว เป็นการแสดงที่มีชีวิตชีวาและดูสดใสของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในล้านนา
- ฟ้อนดาบ ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวของชาวล้านนา เป็นการฟ้อนที่สวยงามแต่ดูคล่องแคล่ว รวดเร็ว
- เซิ้งกะโป๋ หรือเซิ้งกะลา เป็นการแสดงระหว่างคนหนุ่มสาวเป็นการหยอกล้อกันโดยใช้กะลาเป็นเครื่องประกอบ จังหวะด้วยลีลาที่สนุกสนานเร้าใจ
ปิดท้ายการแสดงด้วยการรำวง ซึ่งเป็นศิลปะเพื่อความรื่นเริง นิยมทำกันสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การแสดงนี้ผู้แสดง ได้เชิญชวนให้ผู้ชมมาร่ายรำด้วยกันอย่างสนุกสนาน พวกเราทุกคนที่มาล้วนแล้วแต่ประทับใจในทุกการแสดง
ระหว่างการแสดงพนักงานในชุดพื้นเมืองจะเดินมาเสริฟ์อาหารพื้นเมืองอย่างไม่ขาดสาย อาหารที่เสริฟ์อาทิ น้ำพริกหนุ่มและข้าวเหนียว ผักลวก แคปหมู แกงฮังเล ไก่ทอดและผลไม้ตามฤดูกาล