ผลไม้เขตร้อนที่อร่อยที่สุด 7 ชนิด ที่คุณไม่เคยลิ้มรสชาติ
ผลไม้ไทยอันสุดอร่อย
มีผลไม้หลากหลายชนิดในประเทศไทยที่คุณเคยพบมาก่อน แตงโมที่หวานฉ่ำและสีแดงสดใสตลอดปี สับปะรดและกล้อยอันมีรสชาติเหมือนลูกอม และไม่เคยเริ่มทานมะม่วงก่อนเสมอไป
แต่ทำไมไม่เคยพบอะไรใหม่ๆจากผลไม้ที่อร่อยเหล่านี้เลย?
7.ฝรั่งในน้ำผลไม้พลัม
ลืมน้ำผลไม้รสชาติแปลกผสมกับแอปเปิ้ล และ "ฝรั่งปั่น" ซึ่งคุณก็เคยลิ้มรสชาติมาก่อน ฝรั่งเชอบอย(ฝรั่งแช่
อิ่ม) รู้สึกถึงรสชาติรวม เพราะฝรั่งในประเทศไทยมีรสหวานและฉ่ำ แต่มันไม่ได้มีรสชาติเหมือนขนมหวาน
และเหมือนกับผลไม้อย่างอื่นๆ(ค่อนข้างมีรสชาติคล้ายๆแอปเปิ้ลหรือลูกแพร์) แต่เมื่อเขาปลอกเปลือกมันและแชร์ในน้ำผลไม้พลัม จะทำให้มีรสชาติอร่อย ส่วนผสมสำคัญที่ทำให้มันอร่อยมากขึ้น ซึ่งผู้ขายจะแถมให้คือน้ำพลิกเกลือ
คำว่า "คนผิวขาว" ในประเทศไทยเรียกว่า "ฝรั่ง-ฟารั่ง" ขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะเชื่อ มันอาจจะมาจากคำต่างประเทศ ฝรั่งเศส หรือ วารันเจียน(ชาวไวกิ้งเก่า)ก็ได้.
6.ขนุน
ขนุนคล้ายกับสิ่งที่ออกมาจากหนังสือของ ดร.ซู ผลไม้ที่โตเต็มที่ได้ถึง 35 กก.และยาวถึง 90 ซม.มีหนามคมสีเขียวคล้าย"หยดน้ำ" จากลำต้นของพวกมัน การที่จะปลอกมันออกมาทานจะต้องอาศัยความชำนาญสักนิดหนึ่ง
เพราะเปลือกค่อนข้างหนา ส่วนเนื้อของมันนุ่มและเหนียว รสชาติเหมือนกับการรวมผลไม้ทั้งสามชนิด สับปะรด มะม่วง กล้วยเข้าด้วยกัน มองหารถเข็ญมีหลอดไฟสีเหลืองแล้วคุณจะลองลิ้มรสชาติมัน
5.มะขาม
คุณอาจจะได้ริ้มรสชาติของมันโดยไม่รู้ตัว อาจจะไม่ใช่ของชอบของทุกคน มันอยู่ในเครื่องปรุงของอาหาร น้ำซอส เช่น ผัดไทย มะขามโตในระยะยาว ผลสีน้ำตาล และรูปลักษณ์ของมันไม่น่ากินเท่าไร แต่หากต้องการกิน ปลอกเปลืองมันออกมา
แล้วก็กินได้เลย
4. ลำไย
ผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดนี้เป็นที่นิยมรับประทานอย่างมากในบ้านเรา โดย จังหวัดที่ปลูกมากที่สุดคือจังหวัดลำพูน สำหรับประเทศที่ปลูกมากที่สุดเห็นจะเป็นประเทศจีนที่มีการปลูกลำไยมาถึง 26 สานพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกในบ้านเราจะแบ่งออกเป็น 5 พวก ชนิดแรกคือ ลำไยกะโหลก ซึ่งเป็น พันธ์ที่มีผลใหญ่เนื้อหวานอร่อยซึ่งก็จะแบ่งแยกย่อยไปอีกหลายสายพันธุ์ เช่น สีชมพู อีดอ อีแดง อีดำ เป็นต้น ส่วนจำพวกที่ 2-5 ก็คือ ลำไยกระดูก ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา ลำไยขาว และลำไยธรรมดา
ลำไยประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินบี12 เป็นต้น ส่วนในด้านสรรพคุณลำไยใช้เป็นยารักษาโรคก็จะได้แก่เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาโรคมาลาเรีย บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร เป็นต้น
(ดูเพิ่มเติม)
3. เงาะ
เป็นผลไม้เมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และแพร่ขยายมาปลูกมาในบ้านเราในภายหลัง ซึ่งนิยมปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออก ซึ่งสายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุดก็ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน (เงาะโรงเรียน) พันธุ์สีทอง พันธุ์สีชมพู เป็นต้น ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆก็มีปลูกกันบ้างประปราย
ประโยชน์ของเงาะ
มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
เงาะ สรรพคุณช่วยรักษาอาการอักเสบในช่องปาก
ช่วยแก้อาการท้องร่วงรุนได้อย่างได้ผล(ดูเพิ่มเติม)
2. มังคุด
เชื่อว่าผลไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ และยังเป็นผลไม้ที่นิยมอย่างมากในแถบเอเชีย โดยได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of Fruits) อาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผล ที่มีกลับบนหัวคล้าย ๆกับมงกุฎของพระราชินี เป็นผลที่จัดว่ามีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง โดยประโยชน์ของมังคุดไม่ได้อยู่แค่เนื้อที่เรานิยมรับประทานกันเท่านั้น ประโยชน์ของเปลือกมังคุดก็มีมากมายในการรักษาโรคได้เช่นกัน
ในมังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก แม้จะมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆเหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
นอกจากนี้มังคุดยังมีสารแทนนิน (Tannin) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ (ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย) ดังนั้นการรับประทานที่ดีที่สุดคือการรับประทานอย่างมีสติ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ไม่อย่างนั้นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมายมันอาจจะกลายเป็นโทษต่อร่างกายเสียเอง (ดูเพิ่มเติม)
1. ทุเรียน
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่อยู่วงศ์ฝ้าย ในสกุลทุเรียน (แต่นักอนุกรมวิธานบางท่านจัดให้ทุเรียนอยู่ในวงศ์ทุเรียน) ทุเรียนจัดว่าเป็นราชาผลไม้ไทย โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน โดยลักษณะของผลทุเรียนจะมีขนาดใหญ่ ผลรีถึงกลม และมีเปลือก( สีเขียวถึงสีน้ำตาล) ที่ปกคลุมไปด้วยหนามแข็ง ผลทุเรียนอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลยาวถึง 15 ซม. น้ำหนักโดยทั่วไปประมาณ 1-3 กิโลกรัม และมีเนื้อที่นำมารับประทานเป็นสีเหลืองซีดจนถึงสีแดง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์
สรรพคุณของทุเรียน
ช่วยทำให้ฝีแห้ง (เนื้อทุเรียน)
สรรพคุณทุเรียนช่วยแก้โรคผิวหนัง (เนื้อทุเรียน)
สารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใยวางบนศีรษะของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ได้ (ราก,ใบ)
ทุเรียน สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง (ราก)
สรรพคุณของทุเรียนช่วยขับพยาธิ (ใบ,เนื้อทุเรียน)
ทุเรียนทุเรียน สรรพคุณทางยาช่วยแก้ดีซ่าน (ใบ)
ช่วยทำให้หนองแห้ง (ใบ)
ช่วยแก้ตานซาง (เปลือก)
ช่วยรักษาโรคคางทูม (เปลือก)
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (เปลือก)
ช่วยแก้ฝี (เปลือก)
ช่วยรักษาแผลพุพอง (เปลือก)
ใช้สมานแผล (เปลือก)
เปลือกทุเรียนใช้ไล่ยุงและแมลง (เปลือก)(ดูเพิ่มเติม)
มองหาวิลล่าที่พักในภูเก็ต คลิกตรงนี้ ไทยแลนด์ฮอลิเดย์โฮมส์